ในการก่อสร้าง อาจมีเหตุจำเป็นที่ทำให้เราต้องทำการต่อทาบเหล็ก แทนที่จะใช้เหล็กชิ้นเดียวยาวตลอดทาง ซึ่งการต่อทาบเหล็กนั้น จำเป็นต้องทำอย่างถูกวิธีและไม่กระทบกับการรับกำลังของโครงสร้าง โดยเบื้องต้น ถ้าหากต้องการต่อทาบเหล็ก ควรศึกษาข้อกำหนดที่อยู่ในแบบแปลน
ตัวอย่างตารางระยะทาบที่กำหนดอยู่ในแบบแปลน
ตัวอย่างตำแหน่งการวางทาบที่คานและพื้น
ถ้าไม่มีการกำหนดในแบบแปลน ควรยึดตามมาตรฐานก่อสร้างของ มยพ. 1103-52 โดยมีรายละเอียดดังนี้:
- เหล็กเส้นกลม ควรต่อทาบไม่น้อยกว่า 40 เท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเส้นนั้น และให้งอปลาย 180 องศาด้วย (ถ้าเหล็กเส้นกลมมีขนาดมากกว่า15ซม. อาจจะงอแต่ 90 องศาก็ได้)
- เหล็กข้ออ้อย SD30 / SD40 / SD50 ควรจะต่อไม่น้อยกว่า 30 / 36 / 45 เท่า ตามลำดับ โดยไม่ต้องงอขอก็ได้
ตารางแสดงระยะการต่อทาบเหล็กที่ใช้ทั่วไป
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็ก และ ประเภทเหล็ก | ระยะต่อทาบ (ซม.) | ระยะกำหนดใน มยพ.1103-52 |
เหล็กเส้นกลม 6มม. RB6 SR24 | 24ซม. | 40เท่า |
เหล็กเส้นกลม 9มม. RB9 SR24 | 36ซม. | 40เท่า |
เหล็กข้ออ้อย 12มม. DB12 SD40(T) | 43.2ซม. | 36เท่า |
เหล็กข้ออ้อย 16มม. DB16 SD40(T) | 57.6ซม. | 36เท่า |
เหล็กข้ออ้อย 20มม. DB20 SD40(T) | 72ซม. | 36เท่า |
เหล็กข้ออ้อย 25มม. DB25 SD40(T) | 90ซม. | 36เท่า |
ตำแหน่งในการต่อเหล็ก
การต่อเหล็กเสริมนั้น มีจุดที่ไม่ควรต่อ เพื่อไม่ให้กระทบกับการรับแรง โดยมีข้อกำหนดดังนี้
- เหล็กเสริมล่าง - ให้ต่อบริเวณหัวเสาหรือคานจนถึงระยะ1/6 ของความยาวช่วงคาน หรือแผ่นพื้นโดยวัดจากศูนย์กลางจุดรองรับ
- เหล็กเสริมบน – ให้ต่อบริเวณกลางคานหรือแผ่นพื้น
สนใจรับคำปรึกษาฟรี ติดต่อ 097-081-7700 หรือแอดไลน์มาที่ไอดี @RKSTEEL